ผักเซียงดา หรือ ผักจินดา เป็นไม้เถาเลื้อยที่ขึ้นในป่าแถบภาคเหนือของไทย แต่ผักเชียงดาที่ขึ้นในป่ามักจะมีรสขมกว่า ใบใหญ่กว่า และสีของใบจะเข้มน้อยกว่าพันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเป็นผักกินกัน ใบเป็นใบเดี่ยว รูปกลมรี ฐานใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ สีเหลืองอมส้ม ดอกย่อยกลมเล็ก ผลเป็นฝักคู่ ในทุกส่วนของผักเซียงดาจะมีน้ำยางสีขาวลักษณะเหมือนน้ำนม ผักเชียงดานั้นมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในยอดอ่อนและใบอ่อนมีวิตามินซีเบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง และผักเชียงดาคั้นน้ำสดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยสามารถป้องกันการทำลายดีเอ็นเอในเซลล์เม็ดเลือดขาว นอกจากนี้ในผักเซียงดาเองนั้นยังมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือด สามารถช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งชนิดพึ่งอินซูลิน และไม่พึ่งอินซูลินได้ หากอยากทราบว่าผักเซียงดานั้นช่วยลดน้ำตาลได้อย่างไรก็ให้ลองเอาใบแก่มาเคี้ยวหลังจากนั้นกินน้ำตาลทรายเข้าไป น้ำตาลจะไร้รสชาติ ไม่มีความหวาน ปัจจุบัน มีการนำเชียงดาไปสกัดและผลิตออกมาในรูปของแคปซูลพื่อสะดวกในการรับประทาน สำหรับคนทางภาคเหนือนั้นรู้จักบริโภคผักเซียงดามาเป็นเวลานานแล้วโดยนิยมนำมาปรุงอาหารรวมกับผักอื่นๆ เช่น ใช้แกงรวมกับผักอื่น ผสมในแกงแค แกงเขียว แกงเลียง ต้มเลือดหมู ผัดรวมกับมะเขือ ไม่นิยมนำมาแกงหรือผัดเฉพาะผักเชียงดาอย่างเดียว เพราะรสชาติจะออกขมเฝื่อน นอกจากนั้น ต้มกิน นึ่งกิน กับพริกอร่อยมาก กินกับลาบ ใช้ยอดกินดิบเลย กินกับตำมะม่วงแบบสดๆ |
|
CategoriesArchives |